ทุกวันนี้โลกออนไลน์นั้นพัฒนากันไปไวมาก และข่าวสารก็เช่นกัน เดี๋ยวนี้ข่าวสารสามารถส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทางไลน์ เฟส ทวิตเตอร์ ต่างๆ
ซึ่งส่วนมากที่คนมักจะอ่านกันก็คงจากไลน์และเฟส ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าข่าวที่ถูกส่งต่อ หรือบทความที่ถูกส่งต่อๆ กันมานั้น เป็นความจริงเท็จ ประการใด ? มาดูกันเถอะ!
วิธีเช็คความน่าเชื่อถือของข่าว
เดี๋ยวนี้จะอ่านข่าวมีเว็บมากมาย ทั้งเว็บ official จากสำนักข่าวเอง และเว็บแยกย่อยหลายๆเว็บ ที่รวบรวมข่าวจากสถานที่ต่างๆไว้ หรือแม้กระทั่ง เว็บข่าวหลอก
เว็บข่าวหลอก คืออะไร? ก็คือเว็บข่าวที่มีการปลอมแปลงเนื้อหาข่าว เพิ่มเติม แก้ไข หรือสร้าง เนื้อหาข่าวขึ้น เพื่อเรียกยอดผู้ชมให้เข้ามาอ่านข่าวในเว็บไซต์นั้น เพื่อหารายได้จากโฆษณานั่นเอง
เราจะรู้ได้ยังไงว่าข่าวที่แชร์มาเป็นข่าวจริง? ในกรณีที่เป็นเว็บไซต์ ง่ายๆครับ เช็คลิงค์เว็บไซต์เลย ในกรณีที่เป็นเฟสบุ๊ค ให้เข้าไปอ่าน กดลิงค์ไปเช็คก่อนนะครับ เพราะบางทีมีการปลอมแปลงชื่อตัวอย่างได้
รูปด้านบนเป็นตัวอย่างข่าวปลอมครับ ดูเว็บก็รู้แล้ว RATSTAS.COM เว็บอะไรเนี่ย? อ่ะๆ ลองเข้าไปหน่อยละกัน
เข้ามา เจอแต่ความว่างเปล่า มีแต่รูปพาดหัวอันใหญ่ กับเนื้อหาข่าวที่ถูกเขียนขึ้นมาเอง ถ้าเป็นเว็บอย่างงี้ ปลอม 100% อย่าหลงเชื่ออ่านให้เป็นเหยื่อของคนสร้างเว็บเลยครับ
ทางที่ดี ถ้าจะอ่านข่าวที่ถูกต้อง ก็เข้าไปตามเพจ เว็บ ของสำนักข่าวนั้นๆเถอะครับ
วิธีเช็คบทความ ว่าเป็นของจริงรึเปล่า?
อย่าหลงเชื่อข้อความที่ถูกส่งต่อกันในไลน์เลยครับ น้ำมะนาวโซดารักษามะเร็งเอย อะไรเอย รบกวนเช็คที่มาก่อนซักนิดนึง หา google ก็ได้ครับ
ถ้าหากเป็นพวกเกี่ยวกับสุขภาพ บทความนั้นๆ มักจะต้องมีคำว่า “นักวิจัย หมอ แพทย์ ค้นพบ” อะไรทำนองนี้
รบกวนเช็คในข้อความนิดนึงครับว่า หมอ แพทย์ มีชื่อหรือไม่ ถ้าไม่มี โอเค อย่าเชื่อเลยครับ
งี้ผมก็เขียนได้ “กินน้ำส้มรักษาเบาหวานนะ หมอจากโรงพยาบาลศิริราชพึ่งค้นพบเมื่อวาน ว่าสารกลูโคสซิลิกในส้ม สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้รักษาโรคเบาหวานได้”
ถามว่าไอหมอคนนี้ มันคือใครครับ? ถ้ามีตัวตนจริง พิสูจน์จริงก็เอาชื่อมาเลยสิครับ คนส่งต่อจะได้หาข้อมูลได้ เอ้อ คนนี้เป็นหมอจริง
วิจัยแล้วจริงๆ ค้นพบจริงๆนะ อันนี้น่าเชื่อถือ อย่าให้คำว่า “เค้าว่ากันว่า” มาทำให้คุณเชื่อเลย….
สรุป
เดี๋ยวนี้โลกอินเทอร์เน็ต ทุกๆอย่างมันส่งต่อกันรวดเร็ว บางอย่างก็ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนส่ง หรือบางอย่างก็ผิดเพี้ยนไปจากเดิม อย่างไรก็ตาม ก่อนเชื่อถือข้อความข่าวสารใดๆ
รบกวนเช็คกันก่อนสักนิดเถอะครับ ว่าต้นตอมาจากไหน น่าเชื่อถือรึเปล่า ก่อนที่คุณจะเชื่อ ไม่ใช่ว่า ญาติส่งมา เออเชื่อเถอะ เค้าจะหลอกเราทำไม หรือ เพื่อนส่งมา อะไรทำนองนี้
บางทีเค้าก็อาจจะถูกส่งต่อมาจากใครก็ไม่รู้เหมือนกัน เค้าก็หวังดีก็ส่งต่ออีก แต่ปรากฏว่า ส่งข้อความผิดๆ เสียๆ หายๆ กันต่อๆ ไป แบบนี้ จากหวังดี จะกลายเป็นหวังร้ายแทน
เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะเชื่อใคร เชื่ออะไรบนโลกออนไลน์ รบกวนเช็คกันก่อนเถอะครับ และสุดท้าย อยากให้ติดตามเพจอาจาร์ยเจษ เอาไว้ หลายๆอย่างๆ จะได้ตาสว่างขึ้นมากๆ
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.